วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ระบบเครือข่าย เเลน

โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology) แบบ LAN ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) สามารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่าย ให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
1)  โครงสร้างแบบดาว (Star Topology)


เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที
2)  โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)


เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกับถนนที่ข้อมูลจะส่งผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก
3)  โครงสร้างแบบแหวน (Ring Topology)


เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน  ข้อมูลจะถูกส่ง ต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย      ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน
 4. โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology) คือ เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานกันทั้งแบบดาว,วงแหวน และบัส เช่น วิทยาเขตขนาดเล็กที่มีหลายอาคาร เครือข่ายของแต่ละอาคารอาจใช้แบบบัสเชื่อมต่อกับอาคารอื่นๆที่ใช้แบบดาว และแบบวงแหวน

5. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช (mesh topology)        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน

Description: http://www.thainame.net/weblampang/student3/images/mesh_topology.jpg

6. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (hybrid topology)        เป็นโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานความสามารถของโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบรวมกัน ประกอบด้วยเครือข่าย คอมพิวเตอร์ย่อยๆ หลายเครือข่ายที่มีโครงสร้างแตกต่างกันมาเชื่อมต่อกันตามความเหมาะสม ทำให้เกิดเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารข้อมูล

Description: http://www.thainame.net/weblampang/student3/images/Hybrid.jpg

โพรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocol)      โพรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocol) หรือที่นิยมเรียกกันว่า โพรโตคอลสแตก (Protocol stack) ก็คือชุดของกฎหรือข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อให้แต่ละสถานีในเครือข่ายสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้อย่างถูกต้อง โดยโพรโตคอลของระบบเครือข่ายทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) กับ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS)
ระบบเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมีโพรโตคอลสแตกที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอยู่หลายโพรโตคอล ซึ่งแต่ละโพรโตคอลก็จะใช้จัดการในงานของเครือข่ายคล้าย ๆ กัน และในกรณีที่ระบบเครือข่ายเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์หลายแบบ  จะสามารถใช้งาน  หลาย ๆ โพรโตคอลแสตก พร้อมกันผ่านเครือข่ายได้ เช่น ใช้ IPX/SPX สำหรับ Network   และใช้ TCP/IP ในการติดต่อกับ UNIX ผ่าน LAN แบบ Ethernet พร้อม ๆ กัน เป็นต้น
ตัวอย่างของโพรโตคอลสแตกที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน คือ
1)  NetBIOS และ NetBEUI      โพรโตคอล NetBIOS (Network Basic Input/Output System) พัฒนาร่วมกันโดย IBM และ Microsoft มีการใช้งานอยู่ในเครือข่าย หลาย  ๆ ชนิด อย่างไรก็ดี NetBIOS เป็นโพรโตคอลที่ทำงานอยู่ในระดับ Session Layer เท่านั้น จึงไม่ได้เป็นโพรโตคอลสำหรับเครือข่ายโดยสมบูรณ์ จึงได้พัฒนาโพรโตคอล NetBEUI (Network Extended User Interface) ซึ่งเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมของ NetBIOS ที่ทำงานอยู่ใน Network Layer และ Transport Layer จะพบการใช้งานได้ใน Windows for Workgroups และ Windows NT
2)  IPX/SPX      เป็นโพรโตคอลของบริษัท Novell ซึ่งพัฒนาขึ้นมาใช้กับ NetWare มีพื้นฐานมาจากโพรโตคอล XNS (Xerox Network Services) ของบริษัท Xerox โพรโตคอล IPX (Internetwork Packet Exchange) จะเป็นโพรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Network Layer ใช้จัดการการแลกเปลี่ยน packet ภายใน Network ทั้งในส่วนของการหาปลายทางและการจัดส่ง packet ส่วน SPX (Sequenced Packet Exchange) จะเป็นโพรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Transport Layer โดยมีหน้าที่ในการจัดการให้ข้อมูลส่งไปถึงจุดหมายได้อย่างแน่นอน
3)  TCP/IP      เป็นโพรโตคอลที่ได้รับการพัฒนามาจากทุนวิจัยของ U.S. Department of Defense's Advanced Research Project Agency (DARPA) ได้รับการใช้งานกันมากใน Internet และระบบ UNIX แบบต่าง ๆ ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นโพรโตคอลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ โดยมีการใช้งานมากทั้งใน LAN และ WAN โพรโตคอล TCP/IP จะเป็นชุดของโพรโตคอลซึ่งรับหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ กัน และมีการแบ่งเป็น 2 ระดับ (layer) คือ
  1. IP Layer เป็นโพรโตคอลที่อยู่ในระดับต่ำกว่า TCP อาจเทียบได้กับ Network Layer ใน OSI Reference Model ตัวอย่างโพรโตคอลที่อยู่ในระดับนี้คือ IP(Internet Protocol) , ARP (Address Resolution Protocol) , RIP (Roution Information Protocol) เป็นต้น
  2. TCP Layer เป็นโพรโตคอลที่อยู่ในระดับสูงกว่า IP เทียบได้กับ Transport Layer ของ OSI Reference Model ตัวอย่างโพรโตคอลใน Layer นี้  เช่น  TCP (Transport Control Protocol) , UDP (User Datagram Protocol)  เป็นต้น

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดอกไม้ประจำชาติ10ประเทศอาเซียน

10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน

          เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น การรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ ก็จะเริ่มต้นขึ้นแล้ว (พ.ศ.2558) เพื่อผนึกกำลังในการพัฒนาแต่ละประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีประเทศไทยกับเขาด้วย วันนี้ กระปุกดอทคอม จึงมีข้อมูลเบา ๆ เกี่ยวกับดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติอาเซียนในแต่ละประเทศมาฝากกันเพื่อ เพิ่มเติมความรู้ ว่าแต่จะมีดอกไม้อะไรบ้าง อย่ารอช้ารีบไปดูกันเลย..

 1. บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) : ดอกซิมปอร์

        ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) : ดอกลำดวน
          กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ ด้วยนะ

3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) : ดอกกล้วยไม้ราตรี
          ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR) : ดอกจำปาลาว
          ดอกไม้ประจำชาติประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย
5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) : ดอกพู่ระหง
          สำหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย

6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) : ดอกพุดแก้ว
         ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วย เช่นกัน
7. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore) : ดอกกล้วยไม้แวนด้า
          ประเทศสิงคโปร์ มี ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)

8. ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) : ดอกราชพฤกษ์
          ดอกไม้ประจำชาติไทยของเรา ก็คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น

9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) : ดอกบัว
          ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนามดอกไม้แห่งรุ่งอรุณเป็ญสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อย ครั้ง
10. สหภาพพม่า (Union of Myanmar) : ดอกประดู่
          ดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ

         


อาหารประจำชาติ10ประเทศอาเซียน

อาหารประจำชาติอาเซียน

ประเทศไทย (Thailand) : ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)


พม่า (Myanmar) : หล่าเพ็ด (Lahpet)


สิงคโปร์ (Singapore) : ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ)


ฟิลิปปินส์ (Philippines) : อโดโบ้ (Adobo)


เวียดนาม (Vietnam) : Nem หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม


มาเลเซีย (Malaysia) : นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)


ลาว (Loas) : ซุบไก่ (Chicken Soup)


อินโดนีเซีย (Indonesia) : กาโด กาโด (Gado Gado)


กัมพูชา (Cambodia) : อาม็อก (Amok)


บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) : อัมบูยัต (Ambuyat)

ชุดประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน

 

ชุดประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน

บรูไน ดารุสซาลาม

ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะ จรดเท้า ผู้หญิงมุสลิมจะสวมผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะและในสถานที่ราชการ ผู้ชายมุสลิมแต่งกายเป็นทางการทั้งในสถานที่ราชการและที่สาธารณะ คือจะสวมเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง

กัมพูชา
 Sampot เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชา ซึ่งมีความคลายคลึงกับผ้านุ่งของ ลาวและไทย

อินโดนีเซีย

บาติกจัดให้เป็นงานศิลปะและงานฝีมือของประเทศอินโดนีเซียและยังเป็นที่รู้จักในชุดประจำชาติของประเทศอีกด้วยลวดลายของผ้าบาติกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับประเทศอินโดนีเซียสามารถพบได้ในประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย

ลาว
 ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่นที่ทอเป็นลวดลาย ใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอกหรือแขนยาว สำหรับผู้ชาย มักแต่งกายแบบสากล ถ้าเป็นข้าราชการหรือผู้มีฐานะดีนิยมนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อชั้นนอก กระดุมเจ็ดเม็ด (คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย)

มาเลเซีย

Baju Melayu เป็นชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ที่มีความหมายว่า เสื้อมาเลย์ ซึ่งประกอบ ไปด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงที่ทำมาจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์และผ้าฝ้าย โดยชุดแต่งกายของผู้หญิงมีชื่อว่า baju kurung ที่ประกอบด้วยเสื้อคลุมยาวและกางเกงยาว


พม่า

Longyi คือ เครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่าโดยมีการออกแบบในรูปทรงกระบอกมีความยาว จากเอวจรดปลายเท้าการสวมใส่ Longyi ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึง หัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่

ฟิลิปปินส์

ลักษณะ การแต่งกาย คือ ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวเสื้อทำด้วยใยสัปปะรด มีบ่าคอตั้ง แขนยาวด้านหน้า และที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลายเรียกเสื้อชนิดนี้ว่า บารองตากาล๊อก สำหรับผู้หญิงนุ่ง กระโปรงยาวบานสวมเสื้อแขนสั้นจับจีบและยกตั้งขึ้นเหนือไหล่ ดูคล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวักต่างหากก็ได้เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาว

ไทย

ชุดไทยจักรี คือชุดไทยประกอบด้วยสไบเฉียงจะเย็ดให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือจะมีผ้าสไบห่ม

เวียดนาม

Ao dai เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกับ กางเกงขายาว Ao dai เป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญในประเทศเวียดนาม

สกุลเงิน10ประเทศอาเซียน

สกุลเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน

สกุลเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน


ดอลล่าร์บรูไน ดารุสซาลาม เป็นสกุลเงินของประเทศบรูไนดารุสซาลาม
*1 ดอลล่าร์บรูไน เท่ากับประมาณ
 25 บาทไทย 

เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา
*127 เรียล เท่ากับประมาณ 1 บาท 

รูเปียห์ (Rupiah) เป็นสกุลเงินของประเทศอินโดนีเซีย
* 1,000 รูเปียห์ เท่ากับประมาณ 3 บาท
 

 กีบ (Kip) เป็นสกุลเงินของประเทศลาว
* 1,000 กีบ เท่ากับประมาณ
 4 บาทไทย

 ริงกิต (Ringgit) เป็นสกุลเงินของประเทศมาเลเซีย
1
  ริงกิตมาเลเซียเท่ากับประมาณ 10 บาท


 จ๊าด (Kyat) เป็นสกุลเงินของประเทศพม่า
* 26 จ๊าดเท่ากับประมาณ 1 บาทไทย
 
 เปโซ (Peso) เป็นสกุลเงินของประเทศฟิลิปปินส์
*1.40 เปโซ เท่ากับประมาณ 1 บาท
 

 บาท (Baht) เป็นสกุลเงินของประเทศไทย

ดอลลาร์ (Dollar) เป็นสกุลเงินของประเทศสิงคโปร์
* 1
 ดอลล่าร์สิงคโปร์ เท่ากับประมาณ 25 บาท

 
ด่ง (Dong) เป็นสกุลเงินของประเทศเวียดนาม
* 652 ด่ง เท่ากับประมาณ  1  บาทไทย

เมืองหลวง10ประเทศอาเซียน



เมืองหลวงประเทศอาเซียน 10 ประเทศ



ประเทศอาเซียนนั้นประกอบไปด้วย  10 ประเทศด้วยกัน เมืองหลวงของแต่ละประเทศชื่อว่าอะไรบ้าง มาดูกันครับ


1.บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน


2.กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย


3.จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย


4.กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย


5.มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์


6.เนปีดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่า


7.พนมเปญ ประเทศกัมพูชา


8.สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์


9.เวียงจันทน์ ประเทศลาว